รู้จัก อาการและสาเหตุ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

0
5618

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ( Thrombocytopenia ) ก็ต่อเมื่อจำนวนเกล็ดเลือดน้อยกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร และถ้าต่ำกว่า 20,000 มีโอกาสเลือดออกได้เองโดยไม่ต้องมีบาดแผล ซึ่งโดยปกติเกล็ดเลือดจะอยู่ที่ 150,000-450,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร ทำให้เลือดออกผิดปกติ หยุดยาก ผู้ป่วยบางรายไม่แสดงอาการใด แต่บางรายมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก ต้องได้รับการรักษาทันที อาจเกิดเลือดออกจนเสียชีวิตได้

เกล็ดเลือดคืออะไร? สำคัญอย่างไร?

เกล็ดเลือดเป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือด สร้างในไขกระดูก ทำหน้าที่ให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก มีอายุ 8-10 วัน ก็จะถูกทำลายโดยม้าม และเกล็ดเลือดใหม่ก็ถูกผลิตทดขึ้นมาแทน

วิดีโออธิบายถึงความสำคัญของเกล็ดเลือด ข้อมูลจาก youtube: รายการวันละนิดวิทย์เทคโน โดย สวทช. ตอน เกล็ดเลือด สำคัญอย่างไร

เลือดแข็งตัวสัมพันธ์กับเกล็ดเลือดอย่างไร? เลือดเป็นของเหลวที่ไหลเวียนทั่วร่างกาย หากมีการฉีกขาดของหลอดเลือดจะมีเลือดออก เมื่อนั้นร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการหยุดเลือดออก เกล็ดเลือดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ เกล็ดเลือดจะไปเกาะตัวกันอย่างหลวมๆที่ผิวด้านในของหลอดเลือด ต่อจากนั้นจะการกระตุ้นให้เกิดโปรตีนไฟบริน ( fibrin ) เข้าไปทำให้เกาะตัวกันแน่นขึ้น และทำให้เลือดหยุดไหล แต่ทั้งนี้เนื้อเยื้อภายนอกต้องมีความแข็งแรงด้วย เลือดจึงจะหยุดได้ดี ต่อจากนั้นร่างกายจะกำจัดก้อนเลือดที่เกาะกันนั้นออกไป หลอดเลือดก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ไม่มีสิ่งอุดตัน

เกล็ดเลือดต่ำมีอาการเช่นไร? เมื่อเกล็ดเลือดต่ำมากๆ จะมีอาการเลือดออกจากเกล็ดเลือด ทำให้ผิวหนังเป็นจุดแดงๆ กดแล้วไม่หายไป หรือเป็นจ้ำเลือด บางคนเรียกว่า “พรายน้ำ” จ้ำเลือดจะมีสีม่วงปนเหลืองเนื่องจากเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในต่ำแหน่งเลือดอออกแตกตัวให้สารสีเหลือง บางคนมีเลือดออกในช่องปาก เหงือก บางคนปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด หรือถ่ายสีดำเหมือนยางมะตอย บางรายมีเลือดออกภายใน ทำให้ช็อค และเสียชีวิตได้

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำเกิดจากสาเหตุใด ?

  • เกิดจากการสร้างเกล็ดเลือดได้น้อย จากโรคต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือจากยาที่กดการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่น ยาเคมีบำบัด ยากดภูมิต้านทาน
  • เกิดจากเกล็ดเลือดถูกทำลาย ด้วยโรคบางชนิด เช่น โรคเอสแอบอี ไข้เลือดออก , ไอทีพี และด้วยยาบางชนิด ที่พบบ่อยคือ ยาเฮพาริน (Heparin) เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • เกิดจาการที่เกล็ดเลือดถูกบีบให้ไปอยู่ในที่หนึ่งมากเกินไป ทำให้เกล็ดเลือดในกระแสเลือดลดลง
  • เกิดจากการใช้เกล็ดเลือดมากเกินไป เนื่องจากภาวะ DIC ( intravascular coagulation) เป็นภาวะที่มีลิ่มเลือดกระจายไปในหลอดเลือดทั่วร่างกาย ,การติดเชื้อรุนแรง,การช็อก และเนื้อเยื้อขาดออกซิเจน เป็นต้น
  • เกิดจากปริมาณน้ำในร่างกายมาก( dilutional thrombocy topenia) พบในผู้ป่วยที่ได้รับน้ำเกลือหรือสารน้ำคอลลอยด์มากเกินไป หรือได้รับส่วนประกอบอื่นๆของเลือดในปริมาณมาก เช่น ได้รับเม็ดเลือดแดงอย่างเดียว โดยไม่ได้รับเกล็ดเลือดร่วมด้วย

ดูแลตนเองอย่างไรดี เมื่อมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ควรระวังการกระแทกแรงๆหรือการทำให้เกิดบาดแผล มีเลือดออก เช่นการแปรงฟันแรงเกินไป หลีกเลี่ยงงานที่มีความเสี่ยง อย่างการทำงานในที่สูง การแข่งรถ เพื่อป้องการการเกิดอุบัติเหตุ เสียเลือด นอกจากนี้เมื่อต้องพบแพทย์ควรแจ้งทุกครั้งว่าตนเองมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เช่น การถอนฟัน การผ่าตัด ทานยาตามคำแนะนำแพทย์ และหันมาใส่ใจสุขภาพทั้งในเรื่องอาหาร การออกกำลังกายที่พอเหมาะและการพักผ่อน

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ต้องการสารอาหารที่ช่วยในการสร้างเลือด คือ

  • Vitamin E เช่น อาหารทะเล จมูกข้าว ข้าวกล้อง ไข่ เมล็ดพืชและถั่ว
  • Vitamin K เช่น เครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว มันฝรั่ง
  • Folic Acid or Folate (โฟเลต)เช่น ผลไม้ ถั่วฝัก ผักใบเขียวเข้ม ตับ
  • Iron (ธาตุเหล็ก) เช่น ตับ ปลา เนื้อแดง แป้งถั่วเหลือง ลูกเกด ถั่วฝัก
  • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นโรคนี้มีความจำเป็นที่ต้องการรับบริจาคเกล็ดเลือดอย่างมาก หากมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำมาก มีบาลแผล หรือต้องได้รับการผ่าตัด เกล็ดเลือดที่รับการบริจาคต้องมาจากคนอย่างน้อย 6-8 คนจึงจะเพียงพอที่จะไปหยุดเลือดที่ไหลได้ และผู้ป่วยบางรายต้องการเกล็ดเลือดใหม่มาทดแทนทุกๆสัปดาห์ ทุกวันนี้โลหิตที่ได้รับบริจาคไม่เพียงพอต่อจำนวนของผู้ป่วย อยากเชิญชวนไปร่วมกันบริจาคโลหิตตามสถานพยาบาลใกล้บ้านกันคะ การบริจาคโลหิตในแต่ละครั้งจะช่วยต่ออายุผู้ป่วยได้จำนวนไม่น้อยคะ