โช๊คอัพกระบะ (Shock Absorber) มีกี่ชนิด หน้าที่และประโยชน์ของโช๊คอัพ

0
5662

ห้ามพลาด! โช๊คอัพกระบะต้องรู้ … ประเทศไทยเป็นศูนย์จำหน่ายของรถกระบะบรรทุกขนาด 1 ตันอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่ราคาของรถกระบะจึงไม่สูง เราจึงพบว่ามีรถกระบะวิ่งปะปนกับรถเก๋งจำนวนมาก และก็เพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ บางท่านที่เคยขับรถเก๋งก็อยากจะเปลี่ยนมาใช้กระบะ เผื่อน้ำท่วมถนนไม่ดีรถกระบะก็พร้อมจะลุยได้ดีกว่ารถยนต์แน่นอนคะ

ปัญหาหนึ่งที่พบว่าผู้ใช้รถกระบะไม่ค่อยชอบกับช่วงล่างของรถนัก มักได้บ่นว่าช่วงล่างแข็ง โคลงเคลง สะท้าน ไม่นุ่มนวลเสียเลย ก็รถทำมาเพื่อบรรทุก มาลุยก็กระด้างอย่างแบบนี้คะ

โช๊คหรือโช๊คอัพ (Shock Absorber)

โช๊คอัพเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่อยู่ช่วงล่างของรถ  เป็นอุปกรณ์ไฮดรอลิคที่ทำหน้าที่ในการรองรับแรงกระแทก ลดแรงสั่นสะเทือนของรถ และยังทำหน้าที่หน่วงการเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของตัวถังรถยนต์ด้วย เพื่อให้ล้อรถสัมผัสกับผิวถนนตลอดเวลาขณะรถวิ่ง โดยการควบคุมการยุบและการสั่นของสปริง หรือแหนบ โดยการเปลี่ยนการสั่นสะเทือนจากพลังงานกลเป็นพลังงานความร้อน

ประโยชน์ของโช๊คอัพ

โช๊คอัพจะทำให้เกิดความนุ่มนวลขณะขับขี่ ผู้ขับจะรู้สึกสบาย รถทรงตัวดี ตัวรถไม่โคลงเคลง และยังช่วยลดการสึกหรอของยางรถยนต์ ระบบรองรับ และระบบบังคับเลี้ยว ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเปลี่ยนหรือซ่อมบ่อยๆ

ชนิดของโช๊คอัพ ทั่วไปแล้วโช๊คอัพประกอบด้วยน้ำมันแต่จะต่างกันตรงส่วนผสมที่อยู่ในช่องว่างอากาศในโช๊คอัพ ก็จะมี 2 ชนิด คือ

โช๊คอัพน้ำมัน

โช๊คอัพน้ำมัน เป็นโช๊คอัพที่ใช้น้ำมันไฮดรอลิกเป็นการสร้างแรงดันภายในกระบอกโช๊คโดยภายในกระบอกบรรจุน้ำมันไฮดรอลิกที่มี 2 ความหนืดเอาไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดฟองอากาสขึ้นในน้ำมันไฮโดรลิก  ฟองอากศของน้ำมันจะทำให้โช๊คอัพทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะกับรถที่ต้องใช้ความเร็วสูง เพราะฟองอากาศจแตกจะทำให้โช๊คอัพเกิดการขาดช่วงการทำงานในช่วงสั้น  ข้อดีของโช๊คอัพชนิดนี้คือราคาถูก แต่จะมีอายุการใช้งานสั้น การตอบสนองต่อแรงสะเทือนค่อนข้างช้า เพราะจะมีการสะสมความไว้มากขึ้นเรื่อยๆขณะที่ใช้งาน  ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพได้เร็วจึงเหมาะกับรถที่ใช้งานทั่วๆไป ไม่สมบุกสมบันนัก

โช๊คอัพแก๊ส

โช๊คอัพแก๊ส เป็นโช๊คอัพที่ทำงานร่วมกันระหว่างก๊าสไนโตรเจนและน้ำมนไฮดรอลิก เมื่อทำงานน้ำมันไฮโดรลิกจะไหนไปยังห้องน้ำมันส่วนบนและห้องน้ำมันสำรอง โช๊คจะทำการอัดแก๊สไนโตรเจนจนทำให้เกิดแรงดันเพื่อดันน้ำมันไฮดรอลิกกลับสู่กระบอกสูบ ก๊าซไนโตรเจนซึ่งแก๊สจะเข้าไปลดการเกิดฟองของน้ำมัน ยิ่งอัดแก๊สแรงดันสุง ฟองจะยิ่งเกิดยากขึ้น โดยโช๊คแก๊สจะมีแรงดัน ชนิดแรงดันต่ำ อยู่ที่ 10-15 กก./ตร.ซม หรือ 142-213 ปอนด์/ตร.นิ้ว  และแรงดันสูง อยู่ที่ 20-30 กก./ตร.ซม. หรือ 284-427 ปอนด์/ตร.นิ้ว

ชนิดของโช๊คอัพแก๊สมีด้วยกัน 2 แบบ

  • Mono Tube จะใช้แก๊สที่มีแรงดันสูง และมีการแยกห้องแก๊สกับห้องน้ำมันออกจากกัน จึงช่วยลดการเกิดฟองได้ดี
  • Twin Tube เป็นโช๊คอัพมาตรฐานมีท่อสองชั้นประกบกัน ด้านนอกเป็นน้ำมัน ส่วนด้านในเป็นห้องแรงดันที่คอยบรรจุน้ำมันรองรับการทำงานของลูกสูบ

สรุปก็คือโช๊คอัพแบบแก๊สจึงมีค่าความหนืดคงที่และให้ความนุ่มนวลในการขับขี่

โช๊คอัพมีความสำคัญกับการทรงตัวของรถและทำให้รถยึดเกาะถนนตลอดเวลา ไม่โคลงเคลง คุณจึงควรหมั่นตรวจเช็คช่วงล่างอย่างสม่ำเสมอ วิธีสังเกตง่ายคือหากรถคุณวิ่งเกิน 100,000 กิโลเมตรแล้วยังไม่ได้เปลี่ยนโช๊คอัพ ขอบอกไว้เลยนะคะว่าระบบช่วงล่างของคุณจะค่อยลดประสิทธิภาพลงเรื่อยๆ อย่างแน่นอนคะ