3 วิธีตรวจสอบบริษัทสินเชื่อที่จะช่วยให้คุณได้เจอกับตัวเลือกที่ปลอดภัย

0
1073

ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังซบเซาอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แบบนี้ แน่นอนว่าปัญหาที่หลายครอบครัวกำลังประสบพบเจอคงหนีไม่พ้นการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ถึงแม้เรื่องดังกล่าวจะสามารถแก้ไขได้ด้วยการขอสินเชื่อ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีกลุ่มผู้ไม่หวังดีหลายรายแอบอ้างว่าตัวเองเป็นผู้ให้บริการเงินกู้เพื่อหลอกลวงประชาชน ดังนั้นเราจึงตัดสินใจจัดทำบทความว่าด้วยวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทสินเชื่อขึ้นมาเพื่อให้ใครก็ตามที่กำลังมองหาช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินก้อนสามารถทำเรื่องขอสินเชื่อโดยไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

บริษัทสินเชื่อ

สำหรับใครที่อยากรู้แล้วว่าขั้นตอนการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทสินเชื่อจะเป็นยังไง? และจะน่าสนใจมากน้อยแค่ไหน? ถ้าพร้อมแล้ว อย่ามัวรอช้า รีบตามไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมกันด้านล่างนี้ได้เลย

ประเภทของบริษัทสินเชื่อ

ก่อนที่จะเริ่มเข้าเนื้อหาในส่วนของวิธีตรวจสอบความน่าเชื่อถือ เราอยากจะให้ทุกคนเข้ารายละเอียดเบื้องต้นอย่างประเภทของบริษัทสินเชื่อกันก่อน โดยในปัจจุบันเราสามารถจำแนกประเภทของผู้ให้บริการเงินกู้ที่ถูกต้องตามกฎหมายออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ผู้ให้บริการเงินกู้ที่เป็นสถาบันทางการเงินหรือธนาคาร (Bank) และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-Bank) แต่มีการจดทะเบียนการทำธุรกิจกับกระทรวงพาณิชย์ และอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงแม้ผู้ให้บริการประเภทที่สองจะไม่ได้เป็นธนาคาร แต่เนื่องจากผู้ให้บริการกลุ่มนี้มีการจดทะเบียนที่ถูกต้องกับกระทรวง อีกทั้งยังอยู่ภายใต้การควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นเรามั่นใจได้ว่าการให้บริการของบริษัทกลุ่มที่นั้นนี้ก็ดำเนินไปตามกรอบของกฎหมายว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการขอสินเชื่อและการกำหนดอัตราดอกเบี้ยทุกประการ

ขั้นตอนการตรวจสอบ

  • BOT License Check

วิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของบริษัทสินเชื่อที่ง่ายที่สุดคือการใช้บริการ BOT License Check หรือบริการตรวจสอบรายชื่อของผู้ให้บริการเงินกู้ที่เป็น Non-Bank ของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในหน้าเว็บไซต์นี้เราจะสามารถเช็กได้ทันทีเลยว่าบริษัทที่เราสนใจติดต่อขอทำเรื่องกู้เงินนั้นเป็นบริษัทที่อยู่ภายใต้กำกับของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ด้วยการนำชื่อ-นามสกุล, ชื่อบริษัท, ชื่อสถานประกอบการ และเลขที่อ้างอิงไปเสิร์ชบนฐานข้อมูล ซึ่งถ้าชื่อของบริษัทที่เรานำไปค้นหามีข้อมูลอยู่บนระบบ อย่างน้อยเราก็มั่นใจได้เลยว่าบริษัทนั้นเป็นแหล่งเงินกู้ที่ปลอดภัย แต่ในทางกลับกัน ถ้าเกิดบริษัทดังกล่าวไม่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูล เราอยากจะขอให้ทุกคนสันนิษฐานเบื้องต้นไว้เลยว่าบริษัทนั้นมีโอกาสที่จะเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ก็เป็นผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบค่อนข้างสูง

  • เช็กเงื่อนไขเบื้องต้นของบริษัทให้ดี

 นอกเหนือไปจากการตรวจสอบว่าบริษัทสินเชื่อที่เราสนใจมีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่แล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือการตรวจสอบรายละเอียดในส่วนเงื่อนไขการขอสินเชื่อของทางบริษัทให้ดี โดยเฉพาะข้อมูลในส่วนของการดำเนินการที่จะต้องไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ เพิ่มเติม เช่นค่าเอกสาร, ค่าธรรมเนียม และค่ายืนยันตัว นอกเหนือไปจากนี้ บริษัทที่ดำเนินกิจการตามกรอบของกฎหมายยังจะต้องมีการบอกต่ออัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บให้ชัดเจน โดยอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมนั้นจะต้องไม่เกิน 2.75% ต่อเดือนหรือไม่เกิน 33% ต่อปี เป็นต้น

  • สังเกตกระแสตอบรับของผู้ที่เคยใช้บริการมาก่อนหน้า

อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เสริมสร้างความมั่นใจให้กับเราก่อนเริ่มดำเนินการขอสินเชื่อกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งได้เป็นอย่างดีคือการสังเกตกระแสตอบรับของผู้ที่เคยใช้บริการกับผู้ให้บริการกู้เงินรายก่อนหน้าว่าเป็นไปในทิศทางไหน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้เราสามารถเช็กได้จากรีวิวบนอินเทอร์เน็ต รวมไปถึงการพูดคุยกับคนใกล้ตัวที่เคยมีประสบการณ์ทำเรื่องขอกู้เงินมาก่อน